กลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทำสุวรรณชาญวิทยา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม : วิทยานิพนธ์ = Strategies for driving and developing english reading and writing skills of lower secondary school students Thepsuwanchanwitthaya school, Amphawa district, Samut Songkhram province. / กนกวรรณ ศิริเทศ
Material type:
- Strategies for driving and developing english reading and writing skills of lower secondary school students Thepsuwanchanwitthaya school, Amphawa district, Samut Songkhram province
- วพ 421 ก124ก 2565
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 421 ก124ก 2565 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000209939 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 421 ก124ก 2565 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000209940 |
วิทยานิพนธ์(ค.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565
การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษต้องฝึกฝนกระบวนการคิดและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียนเพื่อให้ผู้เรียนนำภาษาอังกฤษไปใช้ในสถานการณ์จริง ได้อย่างเหมาะสม ผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษาเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดกลยุทธ์การขับเคลื่อนทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) สร้างกลยุทธ์การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน และ 3) ประเมินผลการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน การวิจัยดำเนินการรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มเป้าหมายจากโรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคือ ผู้บริหาร 1 คน ครู 3 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่คู่มือ
กลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบประเมินทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.67-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละของความก้าวหน้า
ผลการวิจัย พบว่า
1. กลยุทธ์การขับเคลื่อนและพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน มี 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์การมีส่วนร่วม และกลยุทธ์การทำงานเป็นทีม
2. กลยุทธ์ การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โรงเรียนเทพสุวรรณชาญวิทยา คือ กลยุทธ์การเรียนการสอนแบบ CIRC และ 4W1H
3. ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนและหลังเรียน พบว่านักเรียนที่ผ่านการพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.82
ข้อค้นพบจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน จะประสบความสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับการเลือกกลยุทธ์ที่เลือกใช้ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา
บริจาค
There are no comments on this title.