ความรู้ ความเชื่อ กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร : วิทยานิพนธ์ = | Knowledge, belief, and behavior on breast self-examination : a case study of patho subdistrict, patho district,Chumphon province /

นภาวรรณ นนทสุวรรณ์

ความรู้ ความเชื่อ กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร : วิทยานิพนธ์ = Knowledge, belief, and behavior on breast self-examination : a case study of patho subdistrict, patho district,Chumphon province / Knowledge, belief, and behavior on breast self-examination : a case study of patho subdistrict, patho district,Chumphon province นภาวรรณ นนทสุวรรณ์ - เพชรบุรี: สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555 - (10) 95 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดี-รอม 1 แผ่น

วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555

บริจาค ; 18/12/55

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม ความเชื่อ ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 2) ศึกษาพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีอายุ 35-60 ปี ในตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จำนวน 308 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความรู้ ความเชื่อ กับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สตรีส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง และมีความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการตรวจเต้านมด้วยตนเองรองลงมาคือ การรับรู้
โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม และการรับรู้อุปสรรคของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
2. พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านวิธีการตรวจมะเร็งเต้านม รองลงมา คือ ด้านความถี่ในการตรวจมะเร็งเต้านม และด้านช่วงเวลาในการตรวจมะเร็งเต้านม
3. ความสัมพันธ์ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมการตรวจเต้านมด้วยตนเองกับพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองในตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร โดยรวมมีความสัมพันธ์กันในทิศทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า สตรีควรปรับความเชื่อของตนเองว่าการตรวจเต้านมด้วยตนเองและควรมีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและค้นหาความผิดปกติของเต้านมในระยะเริ่มแรกและรักษาได้


มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี--วิทยานิพนธ์--พ.ศ. 2555


เต้านม--การดูแลและสุขวิทยา--วิทยานิพนธ์
การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง--วิทยานิพนธ์--พะโต๊ะ (ชุมพร)
สตรี--พฤติกรรม--วิทยานิพนธ์--พะโต๊ะ (ชุมพร)

วพ 613.0434 / น199ค


Office of Academic Resources and Information Technology
      38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th