รายงานการวิจัย เรื่อง การตรวจซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการใช้สารฟอกสีในมะพร้าวเผา กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตมะพร้าวเผา เตาบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี / เพ็ญศรี รักผักแว่น...(และคนอื่นๆ)

Contributor(s): เพ็ญศรี รักผักแว่นCall number: 664.07 ก643 Material type: BookBookPublisher: กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข, 2541Description: 24 หน้าISBN: 9747980851Other title: การตรวจซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการใช้สารฟอกสีในมะพร้าวเผา กรณีศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตมะพร้าวเผา เตาบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี [Portion of title]Subject(s): สารฟอกสี | มะพร้าวเผา | ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ | วิจัยDDC classification: 664.07 ก643 Summary: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาชนิดของสารฟอกสีที่ใช้ในกระบวนการผลิตมะพร้าวเผา และตรวจหาปริมาณ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารซัลไฟท์อิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาการแตกตัวของสารฟอกสีในตัวอย่างมะพร้าวเผา ตลอดจนการปรับปรุงขบวนการผลิตที่อาจทำให้ผลผลิตเกิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดำเนินการศึกษาในพื้นที่ตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แบบสอบถามและเครื่อง Modified Rankie Apparatus ในการวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ผลิตมะพร้าวเผาครอบคลุมร้อยเปอร์เซนต์ (จำนวน 35 ราย) และตัวอย่างมะพร้าวเผาจำนวน 32 ตัวอย่าง ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน มีนาคม - กรกฎาคม 2541 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการผลิตมีการใช้สารฟอกสีในขั้นตอนการแช่หลังขูดผิวและขั้นตอนการต้มร้อยละ 83.33 ใช้มานานเฉลี่ย 7 ปี ชนิดของสารฟอกสีพบว่าเป็นสารฟอกสีที่ใช้ในกิจการฟอกย้อมเส้นใยชื่อโซเดียม ไฮโดรซัลเฟต (Sodium Hydrosulphite) ส่วนการวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในตัวอย่างมะพร้าวเผา พบว่า ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เจือปนอยู่ในตัวอย่างมะพร้าวเผาน่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย คณะผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาโดยร่วมกับสำนักวานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ตรวจและแนะนำร้านจำหน่ายสารฟอกสีจำนวน 2 ร้าน ในตลาดเทศบาลเมืองลพบุรี และให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่งซื้อสารฟอกสีที่ใช้ในกิจการอาหารมาจำหน่าย ซึ่งแนะนำให้เปลี่ยนเป็น โซเดียมเมตตาซัลไฟท์ (Sodium Metasulphite) และผู้จำหน่ายได้ดำเนินการตามที่คณะผู้วิจัยแนะนำในเวลาต่อมาSummary: (ต่อ) สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งในกลุ่มผู้จำหน่ายและผู้ผลิตโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีความรู้เกี่ยวกับสารฟอกสีและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ทราบถึงอันตรายอันเกิดจากการบริโภคอาหารที่ใช้สารฟอกสีไม่ถูกประเภทหรืออาหารที่มีการใช้สารฟอกสีในปริมาณสูงและควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ควรมีได้ในมะพร้าวเผา
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library
บรรณราชฯ ชั้น 5
งานวิจัย ชั้น 5 664.07 ก643 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000038615

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาชนิดของสารฟอกสีที่ใช้ในกระบวนการผลิตมะพร้าวเผา และตรวจหาปริมาณ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารซัลไฟท์อิสระที่เกิดจากปฏิกิริยาการแตกตัวของสารฟอกสีในตัวอย่างมะพร้าวเผา ตลอดจนการปรับปรุงขบวนการผลิตที่อาจทำให้ผลผลิตเกิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดำเนินการศึกษาในพื้นที่ตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี และตำบลนิคมสร้างตนเอง อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แบบสอบถามและเครื่อง Modified Rankie Apparatus ในการวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ผลิตมะพร้าวเผาครอบคลุมร้อยเปอร์เซนต์ (จำนวน 35 ราย) และตัวอย่างมะพร้าวเผาจำนวน 32 ตัวอย่าง ระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือน มีนาคม - กรกฎาคม 2541 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย ผลการศึกษา พบว่ากระบวนการผลิตมีการใช้สารฟอกสีในขั้นตอนการแช่หลังขูดผิวและขั้นตอนการต้มร้อยละ 83.33 ใช้มานานเฉลี่ย 7 ปี ชนิดของสารฟอกสีพบว่าเป็นสารฟอกสีที่ใช้ในกิจการฟอกย้อมเส้นใยชื่อโซเดียม ไฮโดรซัลเฟต (Sodium Hydrosulphite) ส่วนการวิเคราะห์หาปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในตัวอย่างมะพร้าวเผา พบว่า ซัลเฟอร์ไดออกไซด์เจือปนอยู่ในตัวอย่างมะพร้าวเผาน่าจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย คณะผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาโดยร่วมกับสำนักวานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี ตรวจและแนะนำร้านจำหน่ายสารฟอกสีจำนวน 2 ร้าน ในตลาดเทศบาลเมืองลพบุรี และให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสั่งซื้อสารฟอกสีที่ใช้ในกิจการอาหารมาจำหน่าย ซึ่งแนะนำให้เปลี่ยนเป็น โซเดียมเมตตาซัลไฟท์ (Sodium Metasulphite) และผู้จำหน่ายได้ดำเนินการตามที่คณะผู้วิจัยแนะนำในเวลาต่อมา

(ต่อ) สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรดำเนินการแก้ไขปัญหาทั้งในกลุ่มผู้จำหน่ายและผู้ผลิตโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรมีความรู้เกี่ยวกับสารฟอกสีและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ผู้จำหน่าย ผู้ผลิตและผู้บริโภคได้ทราบถึงอันตรายอันเกิดจากการบริโภคอาหารที่ใช้สารฟอกสีไม่ถูกประเภทหรืออาหารที่มีการใช้สารฟอกสีในปริมาณสูงและควรมีการศึกษาเกี่ยวกับปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ควรมีได้ในมะพร้าวเผา

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Office of Academic Resources and Information Technology
    38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th