การวิจัยและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยยุทธศาสตร์ "การเรียนรู้สู่พลัง" : ดุษฎีนิพนธ์ = Research and development on health behavioral improvement of the elderly with "learning to power" strategy / อุไรรัชต์ บุญแท้
Material type:
- Research and development on health behavioral improvement of the elderly with "learning to power" strategy
- วพ 613.0438 อ857ก
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 613.0438 อ857ก (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000171134 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 613.0438 อ857ก (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000171133 |
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
มีคู่มือการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ 1 เล่ม
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2554
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของ ผู้สูงอายุโดย “การเรียนรู้สู่พลัง” 2) ศึกษาผลของยุทธศาสตร์ “การเรียนรู้สู่พลัง” ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจ และพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 3) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิต และสภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่ง วัดจาก ค่าความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และค่าระดับไขมันในเลือด จากการทดลองใช้ ยุทธศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 60 คน แบ่ง ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม และกลุ่มธรรมชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ แบบประเมินคุณภาพชีวิต และแบบ บันทึกพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบวิลคอกซอนแรงค์ซัมดับเบิ้ลยูเทส และการทดสอบครัสคัล-วอลลิสเอชเทส ผลการวิจัยพบว่า 1. ยุทธศาสตร์ “การเรียนรู้สู่พลัง” เป็นการนำผู้สูงอายุมาเรียนรู้เพื่อการ มีสุขภาพที่ดี โดยมี คู่มือซึ่งประกอบด้วยรูปแบบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ 7 ด้านได้แก่ การรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ การสูดหายใจ การออกกำลังกาย การนวดเหยียบ การผ่อนคลายอารมณ์และจิตใจ และการปรึกษาแพทย์ และมีวิธีการเรียนรู้เพื่อนำรูปแบบพฤติกรรมสุขภาพสู่การปฏิบัติ โดยทีมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพได้ เรียนรู้ร่วมกันกับผู้สูงอายุ ซึ่งแบ่งฐานความรู้ออกเป็นด้านต่าง ๆ และให้ผู้สูงอายุปฏิบัติในชีวิตจริงตาม คู่มือและแบบบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ และติดตามเยี่ยมบ้านประเมินผลทุกสัปดาห์ 2. ความรู้ความเข้าใจละพฤติกรรมสุขภาพะหว่างกลุ่มทดลองกลุ่มควบคุมและกลุ่มธรรมชาติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ01 โดยกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใและพฤติกรรมสุขภาพ สูงกว่าทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มธรรมชาติละกลุ่มควบคุมมีความรู้ความเข้าใจละพฤติกรรมสูงกว่ากลุ่มธรรมชาติ 3. คุณภาพชีวิตระหว่างกลุ่มทดลองกลุ่มควบคุมและกลุ่มธรรมชาติแตกต่างกัน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีคุณภาพชีวิตดีกว่าทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มธรรมชาติ ขณะที่ กลุ่มควบคุมและกลุ่มธรรมชาติมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน และสภาวะสุขภาพระหว่างกลุ่มทดลอง กลุ่ม ควบคุม และกลุ่มธรรมชาติ แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีสภาวะสุขภาพ ดีกว่าทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มธรรมชาติณะที่กลุ่มควบคุมและกลุ่มธรรมชาติฒิสภาวะสุขภาพไม่แตกต่างกัน ยุทธศาสตร์การเรียนรู้สู่พลัง สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้สูงอายุอื่น ๆ ให้มีคุณภาพชีวิต และสภาวะสุขภาพที่ดีขึ้นได้ทั้งนี้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องควรได้ศึกษายุทธศาสตร์นี้ให้เข้าใจก่อนนำไปปฏิบัติ
There are no comments on this title.