ผลของเทคนิคการสอน เอส คิว เอ อาร์ เอ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 : วิทยานิพนธ์ = Effect of SQARA teaching teachnique on mattayomsuksa 1 student's thai reading comprehension achievement / พรทิพย์ ธงไชย
Material type:
- Effect of SQARA teaching teachnique on mattayomsuksa 1 student's thai reading comprehension achievement
- วพ 373.13 พ239ผ
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 373.13 พ239ผ (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000169906 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 373.13 พ239ผ (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000169905 |
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2554
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค เอส คิว เอ อาร์ เอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน และระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 โรงเรียนบ้านตำหรุ (วิงประชาสงเคราะห์) อำเภปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 กลุ่มทดลอง 26 คน และกลุ่มควบคุม 26 คน รวม 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค เอส คิว เอ อาร์ เอ แผนการสอนแบบปกติ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน40 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ นอนพาราเมตริก แบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน และแบบกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ก่อนการเรียนและหลังการเรียนโดยใช้เทคนิค เอส คิว เอ อาร์ เอ ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 หลังการเรียน โดยใช้เทคนิค เอส คิว เอ อาร์ เอ กับหลังการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบปกติ แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่ได้รับการสอน โดยใช้เทคนิค เอส คิว เอ อาร์ เอ มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่า อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
There are no comments on this title.