การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูของสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = Human resource management that affects the teacher competencies in private schools in Phetchaburi province / จันทนา ครบแคล้ว
Material type:
- Human resource management that affects the teacher competencies in private schools in Phetchaburi province
- วพ 371.02 จ246ก
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 371.02 จ246ก (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000171036 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 371.02 จ246ก (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000171035 |
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 2) ศึกษา
ระดับสมรรถนะครู และ 3) ศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูของ
สถานศึกษาเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คน
ครูผู้สอน จำนวน 588 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ
การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมากและรายข้ออยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยด้านการสรรหาและคัดเลือกอยู่ในอันดับ
สูงสุด รองลงมาตามลำดับ คือด้านการพัฒนา ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์
และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ
2. สมรรถนะครู โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากโดยด้านสมรรถนะประจำสายงานอยู่ในอันดับสูงสุดรองลงมาคือ สมรรถนะหลัก
3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู ในภาพรวมมี 4 ด้าน คือ ด้าน
การสรรหาและคัดเลือก ด้านการพัฒนา ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านการจ่ายค่าตอบแทน
และสวัสดิการที่ร่วมกันส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง
คิดเป็นร้อยละ 99 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับสมรรถนะครู
โดยภาพรวมเท่ากับ 0.771 มีประสิทธิภาพในการทำนายร้อยละ 59.40 และความคลาดเคลื่อนมาตรฐานใน
การทำนายเท่ากับ 22.515
ข้อค้นพบในการวิจัยครั้งนี้ พบว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูของ
สถานศึกษาเอกชนในจังหวัดเพชรบุรี ผู้บริหารสถานศึกษาต้องใช้หลักด้านการสรรหาและคัดเลือก
ด้านการพัฒนาด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ ขณะเดียวกัน
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมด้านแรงงานสัมพันธ์ให้เพิ่มมากขึ้น จึงจะทำให้การบริหาร
ทรัพยากรมนุษย์ของสถานศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
There are no comments on this title.