Image from Google Jackets

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ดุษฎีนิพนธ์ = Development strategy on preventive treatment of household wastewater in municipalities according to sufficiency economy concept / พลภัทร โตส้ม

By: Material type: TextTextPublication details: เพชรบุรี : สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555Description: (12), 260 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title:
  • Development strategy on preventive treatment of household wastewater in municipalities according to sufficiency economy concept
Subject(s): DDC classification:
  • วพ 628.1682 พ441ย
Online resources: Dissertation note: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555 Summary: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ ความ ตระหนัก และการปฏิบัติเชิงป้องกันการเกิดน้ำเสียของครัวเรือนจากการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ที่มีต่อคุณภาพน้ำเสียครัวเรือน โดยการวิจัยเชิงทดลอง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุทัยธานี เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม แบบสอบถาม การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียและบันทึกการปฏิบัติ ของครัวเรือน วิเคราะห์เนื้อหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ วิลคอคซอนแรงค์ ซัมดับเบิ้ลยูเทส และแมนน์วิทนีย์ยู เทส ผลการวิจัยพบว่า 1. ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” คือนวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างขึ้นจากการหลอมรวมทฤษฎี การป้องกันไว้ก่อนการบำบัดน้ำเสียเทคโนโลยีอีเอ็ม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและข้อมูลสภาพจริงประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาน้ำเสีย การปฏิบัติเชิงป้องกันน้ำเสียทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ โดยมีกิจกรรมสำคัญคือการป้องกันสารเคมี และสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียและการใช้ ตัวกลางและอีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมัน โดยทำเป็นคู่มือในการวิจัยเชิงทดลอง 2. ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องปัญหาน้ำเสีย สาเหตุ และแนวทางแก้ไขสูงกว่ากลุ่มควบคุม การปฏิบัติเชิงป้องกันทางเคมี กายภาพ และชีวภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีการควบคุมสารเคมีและสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียการใช้ตัวกลางและเทคโนโลยี อีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมันสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3. คุณภาพน้ำเสียจากครัวเรือนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ”และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีคุณภาพน้ำเสียดีกว่ากลุ่มควบคุมในทุกด้านได้แก่ ค่าบีโอดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณสารแขวนลอย ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดค่าซัลไฟด์ ค่าทีเคเอ็น ปริมาณน้ำมันและไขมัน และมีประสิทธิภาพในการลดค่าบีโอดี ลงได้ร้อยละ 86.84 ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” เป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเทศบาลเมืองอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันและใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติบำบัดเช่นระบบบ่อผึ่งได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้บุคลากรที่ เกี่ยวข้องควรได้ศึกษายุทธศาสตร์นี้ให้เข้าใจก่อนนำไปปฏิบัติ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 628.1682 พ441ย (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000170488
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 628.1682 พ441ย (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000170487
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
No cover image available No cover image available
No cover image available No cover image available
No cover image available No cover image available
No cover image available No cover image available
No cover image available No cover image available
No cover image available No cover image available
No cover image available No cover image available
วพ 624 บ439ค คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรฝ่ายช่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : วิทยานิพนธ์ = วพ 628.162 ส927ก 2557 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการน้ำหลังการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดตามแนวพระราชดำริ : ดุษฎีนิพนธ์ = วพ 628.162 ส927ก 2557 การถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการน้ำหลังการเลี้ยงกุ้งในพื้นที่น้ำจืดตามแนวพระราชดำริ : ดุษฎีนิพนธ์ = วพ 628.1682 พ441ย ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ดุษฎีนิพนธ์ = | Development strategy on preventive treatment of household wastewater in municipalities according to sufficiency economy concept / วพ 628.1682 พ441ย ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ดุษฎีนิพนธ์ = | Development strategy on preventive treatment of household wastewater in municipalities according to sufficiency economy concept / วพ 628.44 ภ524ผ 2560 ผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : วิทยานิพนธ์ = | The Effect of the program for behavior modification of solid waste management in pongprasart subdistrict, bungsapan district, prachuap khiri khan province / วพ 628.44 ภ524ผ 2560 ผลของโปรแกรมทางพฤติกรรมศาสตร์ต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือนตำบลพงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : วิทยานิพนธ์ = | The Effect of the program for behavior modification of solid waste management in pongprasart subdistrict, bungsapan district, prachuap khiri khan province /

ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ ความ
ตระหนัก และการปฏิบัติเชิงป้องกันการเกิดน้ำเสียของครัวเรือนจากการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ที่มีต่อคุณภาพน้ำเสียครัวเรือน โดยการวิจัยเชิงทดลอง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุทัยธานี เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม แบบสอบถาม การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียและบันทึกการปฏิบัติ ของครัวเรือน วิเคราะห์เนื้อหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ วิลคอคซอนแรงค์ ซัมดับเบิ้ลยูเทส และแมนน์วิทนีย์ยู เทส
ผลการวิจัยพบว่า
1. ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” คือนวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างขึ้นจากการหลอมรวมทฤษฎี การป้องกันไว้ก่อนการบำบัดน้ำเสียเทคโนโลยีอีเอ็ม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและข้อมูลสภาพจริงประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาน้ำเสีย การปฏิบัติเชิงป้องกันน้ำเสียทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ โดยมีกิจกรรมสำคัญคือการป้องกันสารเคมี และสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียและการใช้ ตัวกลางและอีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมัน โดยทำเป็นคู่มือในการวิจัยเชิงทดลอง
2. ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องปัญหาน้ำเสีย สาเหตุ
และแนวทางแก้ไขสูงกว่ากลุ่มควบคุม การปฏิบัติเชิงป้องกันทางเคมี กายภาพ และชีวภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีการควบคุมสารเคมีและสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียการใช้ตัวกลางและเทคโนโลยี อีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมันสูงกว่ากลุ่มควบคุม
3. คุณภาพน้ำเสียจากครัวเรือนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ”และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีคุณภาพน้ำเสียดีกว่ากลุ่มควบคุมในทุกด้านได้แก่ ค่าบีโอดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณสารแขวนลอย ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดค่าซัลไฟด์ ค่าทีเคเอ็น ปริมาณน้ำมันและไขมัน และมีประสิทธิภาพในการลดค่าบีโอดี ลงได้ร้อยละ 86.84 ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” เป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเทศบาลเมืองอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันและใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติบำบัดเช่นระบบบ่อผึ่งได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้บุคลากรที่ เกี่ยวข้องควรได้ศึกษายุทธศาสตร์นี้ให้เข้าใจก่อนนำไปปฏิบัติ

There are no comments on this title.

to post a comment.


Office of Academic Resources and Information Technology
      38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th