การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมะนาวพร้อมดื่มเชิงพาณิชย์ บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = A development of ready-to-drink lemonade product processed for commercialization based on creative economic in Phetchaburi province / กนกวรรณ อยู่ทอง
Material type:
- A development of ready-to-drink lemonade product processed for commercialization based on creative economic in Phetchaburi province
- วพ 663.63 ก124ก 2563
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 | วพ 663.63 ก124ก 2563 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000209737 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 | วพ 663.63 ก124ก 2563 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000209738 |
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2563
มะนาวเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สร้างชื่อเสียงและรายได้ให้กับประชาชนในจังหวัดเพชรบุรี แต่ทั้งนี ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน มะนาวมีผลผลิตจ้านวนมากส่งผลให้ราคาตกต้ำ ผู้วิจัยจึงสนใจทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมะนาวพร้อมดื่ม 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมะนาวพร้อมดื่ม และ 3) ประเมินผลิตภัณฑ์ต้นแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมะนาวพร้อมดื่มเชิงพาณิชย์การศึกษาครั้งนี ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรีและประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดเพชรบุรี จ้านวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และให้ผู้บริโภคทดลองผลิตภัณฑ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคโดยการทดสอบที และ
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริโภคมีพฤติกรรมและความต้องในด้านความชอบต่อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นขวดแก้ว ขนาด 200 มล. มากที่สุด ผู้บริโภคชื่นชอบสูตรที่มีน้ำมะนาวร้อยละ 80 และน ้าตาล ร้อยละ 20 มีฉลากบรรจุภัณฑ์มีโทนสีเขียว ตราสินค้าเป็นรูปมะนาวสีเขียวหั่นเป็นแว่นรองรับด้วยพื้นสีส้ม ระบุตราสินค้าเป็น “บี เลมอน” และผู้บริโภคให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์และคุณภาพมากที่สุด
2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยแปรรูปน้ำมะนาวพร้อมดื่มของท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและจุดขาย เริ่มจากการออกแบบร่างผลิตภัณฑ์ต้น การแปรรูปผลผลิตโดยใช้แนวคิดในการออกแบบ จากการศึกษาพฤติกรรม ความต้องการของผู้บริโภค และการทดลองผลิตภัณฑ์จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้ขวดแก้ว โทนสีเขียว ตราสินค้ายี่ห้อ บี เลมอน ปริมาณบรรจุ 200 มล. ฉลากสินค้ามีขนาด 16.6 ซม. X 6.5 ซม. โดยฉลากแสดงข้อมูลส่วนประกอบโดยประมาณ ช่องทางการติดต่อ สถานที่ผลิต และสามารถสแกนคิวอาร์โค้ต เพื่อดูรายละเอียด
เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และ กำหนดราคาจ้าหน่ายขวดละ 25 บาท
3. ผลการประเมินผลผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ผู้บริโภคเห็นว่าตราสินค้าบนบรรจุภัณฑ์มี ความเหมาะสมมากที่สุดในการสื่อสารเกี่ยวกับสินค้า รูปแบบบรรจุภัณฑ์และผลิตภัณฑ์มีความสวยงามและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์มากที่สุด โดยภาพรวมการประเมินทั้งสองด้านอยู่ในระดับมาก สามารถนำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมะนาวพร้อมดื่มเชิงพาณิชย์ที่เป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดเพชรบุรีได้
ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผลผลิตทางการเกษตรที่ราคาตกต้่สามารถนำไปพัฒนาเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าเชิงพาณิชย์ได้โดยใช้การศึกษาตามหลักการตลาดที่สอดคล้องกับการยอมรับของผู้บริโภค
บริจาค
There are no comments on this title.