การศึกษาเชิงทดลองประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนในเทอร์โมไซฟอน วงรอบสองสถานะที่มีการติดตั้งแผ่นบิดสร้างการไหลหมุนควง : วิทยานิพนธ์ = Experimental study on heat transfer efficiency in a two-phase thermosyphon loop fitted with twisted tape swirl generator. / เอกพล ทวีกาญจน์
Material type:
- Experimental study on heat transfer efficiency in a two-phase thermosyphon loop fitted with twisted tape swirl generator
- วพ 536.2 อ878ก 2564
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 | วพ 536.2 อ878ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000209818 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 | วพ 536.2 อ878ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000209819 |
วิทยานิพนธ์(วศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2564
ท่อเทอร์โมไซฟอนเป็นอุปกรณ์ที่มีความสําคัญกับกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมาก เช่นการระบายความร้อนในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนต่าง ๆ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานค่อนข้างมาก ดังนั้นการหาแนวทางในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทความร้อน เพื่อลดต้นทุนและประหยัดพลังงานโดยการใช้เทคนิคการสอดใส่แผ่นบิดเป็นหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนที่นิยมมากที่สุดเนื่องจากมีต่นทุนต่ํา วิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสัดส่วนการเติมสารที่มีผลต่อการถ่ายเทความร้อนท่อเทอร์โมไซฟอน 2) ศึกษามุมเอียงส่วนทําระเหยที่มีผลกระทบต่อการถ่ายเทความร้อน และ 3) ทดสอบอัตราส่วนการบิดที่สร้างการไหลหมุนควงที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อน ดําเนินการวิจัยแบบทดลองกับเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเทอร์โมไซฟอนแบบวงรอบสองสถานะที่มีการติดตั้งอุปกรณ์แผ่นบิดอลูมิเนียมในการสร้างการไหลหมุนควง ที่อัตราส่วนการบิดเท่ากับ 2, 3 และ 4 ท่อแลกเปลี่ยนความร้อนทําจากทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12.7 มิลลิเมตร ความยาวส่วนควบแน่นและทําระเหยเท่ากับ 300 มิลลิเมตร มุมเอียงส่วนควบแน่นคงที่เท่ากับ 15 องศา น้ําไหลผ่านส่วนควบแน่นแบบสวนทางที่อัตราการไหลเชิงปริมาตรคงที่ 1 แกลลอนต์อนาทีท่อส่วนทําระเหยมีมุมเอียงเท่ากับ 0, 15 และ 30 องศา ให้ความร้อนส่วนทําระเหยด้วยขดลวดความร้อนเท่ากับ 60, 80 และ 100 วัตต์ ใช้สารทํางาน R134a อัตราการเติมสารโดยปริมาตรทั้งหมดเท่ากับ 30, 40 และ 50 เปอร์เซ็นต์ ตามลําดับ
ผลการวิจัยพบว่า
1. กรณีท่อเปลา เทอร์โมไซฟอนแบบวงรอบที่อัตราการเติมสารทํางาน 40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรรวมทั้งหมดและที่โหลดความร้อน 100 วัตต์ มีประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนสูงสุดถึง 18.7, 33.2 และ 42.3 วัตต์ที่มุมเอียงส่วนทําระเหย 0 องศา, 15 องศา และ 30 องศา ตามลําดับ
2. กรณีติดตั้งแผ่นบิด เทอร์โมไซฟอนแบบวงรอบให้ประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนเพิ่มขึ้นตามการลดลงของอัตราส่วนการบิด ภายใต้เงื่อนไขการทดลองเทอร์โมไซฟอนแบบวงรอบร่วมกับแผ่นบิดที่อัตราส่วนการบิดเท่ากับ 2 และมุมเอียงส่วนทําระเหย 15องศา สามารถให้ค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนสูงสุดที่ 62.2เปอร์เซ็นต์
3. ค่าความดันตกคร่อมของเทอร์โมไซฟอนแบบวงรอบร่วมกับแผ่นบิดที่อัตราส่วนการบิด เท่ากับ 2, 3 และ 4 มีค่ามากกว่าท่อเปล่าประมาณ 574.41, 365.11 และ 206.97 เปอร์เซ็นต์ตามลําดับ ที่โหลดความร้อน 100 วัตต์และมุมเอียงส่วนทําระเหย 15องศา
ข้อค้นพบจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า เทอร์โมไซฟอนแบบวงรอบสองสถานะที่มีการติดตั้งแผ่นบิดสร้างการไหลหมุนควงที่อัตราส่วนการบิดเท่ากับ 2, อัตราส่วนการเติมสารทํางาน 40 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรรวมทั้งหมด โหลดทางความร้อน 100 วัตต์ และที่มุมเอียงส่วนทําระเหย 15องศา มีค่าประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนของสูงสุดถึง 60.67 เปอร์เซ็นต์
บริจาค
There are no comments on this title.