รูปแบบแนวคิดการจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = Conceptual model for new public service provision affecting success in development of sub-district administrative organizations in mueang district, phetchaburi province. / ประทิว ปังขำ
Material type:
- Conceptual model for new public service provision affecting success in development of sub-district administrative organizations in mueang district, phetchaburi province
- วพ 352.34 ป276ร 2564
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 352.34 ป276ร 2564 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000209830 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ 352.34 ป276ร 2564 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000209831 |
วิทยานิพนธ์(รป.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2564
สถานการณ์การเจริญเติบโตของระบบเศรษฐกิจ การขยายตัวสู่สังคมเมือง ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการพัฒนาจากสังคมชนบทมาสู่ความเป็นสังคมเมืองมากขึ้น รวมถึงมีการเรียกร้องจากประชาชนในการจัดการบริหารสาธารณะที่เกิดความเสมอภาค เป็นธรรม คุ้มค่า และคุ้มทุนด้านงบประมาณในการจัดการบริการสาธารณะ งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบล 2) ศึกษาความสำเร็จการจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล และ 3) เสนอรูปแบบการจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 398 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.968 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีจำนวน 8 ท่าน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลแล้วนำมาเขียนเป็นข้อสรุปเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่ขององค์การบริหารส่วนตำบล โดยรวมมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการเน้นการให้บริการสาธารณะ (X1) ด้านการเน้นผลประโยชน์ส่วนรวม (X2) ด้านการรับรู้ว่าผู้รับบริการในฐานะเป็นพลเมือง (X4) ด้านการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์บนฐานแนวคิดความเป็นประชาธิปไตย (X3) ด้านการสร้างให้เกิดความเป็นพลเมือง (X7) ด้านความโปร่งใสตรวจสอบได้ (X5) และด้านการสร้างคุณค่าสาธารณะ (X6) ตามลำดับ
2. ความสำเร็จการจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ ด้านการสร้างคุณค่าสาธารณะ (X6) ด้านการเน้นการให้บริการสาธารณะ (X1) ด้านการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์บนฐานแนวคิดความเป็นประชาธิปไตย (X3) ด้านความโปร่งใสตรวจสอบได้ (X5) ด้านการรับรู้ว่าผู้รับบริการในฐานะเป็นพลเมือง (X4) และด้านการสร้างให้เกิดความเป็นพลเมือง (X7) มีประสิทธิภาพในการทำนาย ร้อยละ 76.20 สามารถเขียนเป็นสมการการถดถอยได้ดังนี้
Y = 0.331 + 0.269(X6) + 0.226(X1) + 0.155(X3) + 0.141(X5) + 0.139(X4) + 0.110(X7)
3. รูปแบบการจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่จากผลการสังเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์และความต้องการของชุมชน และการกำหนดกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐานการจัดบริการสาธารณะตามพระราชบัญญัติของท้องถิ่น
ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การจัดบริการสาธารณะสมัยใหม่ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนต าบลมุ่งเน้นไปที่การจัดการบริหารที่ตรงตามบริบทความต้องการของประชาชนภายใต้มาตรฐาน และระบบกฎหมาย
บริจาค
There are no comments on this title.