แนวทางส่งเสริมศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาวสู่เยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของ ชุมชนบ้านหนองซอ ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ : วิทยานิพนธ์ = Guidelines for Promoting Folk Performing Arts of Long Drum for the Youths with Participation of Ban Nong Sor Community in Hin Lek Fai Subdistrict in Hua Hin District in Prachuap Khiri Khan Province. / กนก ประทุมวินิจ
Material type:
- Guidelines for Promoting Folk Performing Arts of Long Drum for the Youths with Participation of Ban Nong Sor Community in Hin Lek Fai Subdistrict in Hua Hin District in Prachuap Khiri Khan Province
- วพ786.92 ก123น 2566
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ786.92 ก123น 2566 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000218038 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 | วพ786.92 ก123น 2566 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000218039 |
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2566
กลองยาวเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ใน
หมู่บ้านหนองซอ และต้องการที่จะสืบสานการละเล่นนี้สู่อนุชน ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพในอดีต ปัจจุบัน ปัญหาอุปสรรคและอนาคตการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมศิลปะการแสดง
พื้นบ้านกลองยาวสู่เยาวชนบ้านหนองซอ ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เสนอแนวทาง
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาวสู่เยาวชนบ้านหนองซอ ตำบลหินเหล็กไฟ
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพกับกลุ่มเป้าหมาย 7 กลุ่ม ได้แก่ 1) ตัวแทนกลุ่มปราชญ์
ชาวบ้าน 3 คน 2) ตัวแทนกรรมการหมู่บ้านหนองซอ3 คน 3) ตัวแทนกรรมการวัดหนองซอ 3 คน 4) ตัวแทนชาวบ้าน
3 คน 5) ผู้ปกครองของเยาวชน 3 คน 6) ตัวแทนเยาวชน 3 คน และ 7) ตัวแทนข้าราชการในท้องถิ่น 3 คน รวมจำนวน
21 คน ใช้กระบวนการระดมสมองด้วยเทคนิค A-I-C (Appreciation – Influence – Control) จากนั้นจึงนำข้อมูลมา
สังเคราะห์เป็นแนวทางส่งเสริมศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาวสู่เยาวชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านหนองซอ
ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาวบ้านหนองซอได้รับความนิยมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมี
ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นผู้ถ่ายทอดในอดีตลักษณะการแสดงเป็นแนวดั้งเดิมมีพิธีไหว้ครูให้ความเคารพเครื่องดนตรี ส่วน
กลองยาวร่วมกันผลิตจากวัสดุในท้องถิ่น แต่ปัจจุบันผู้เล่นกลองยาวและครูภูมิปัญญาลดลงการแสดงเปลี่ยนแปลงไปตาม
ยุคสมัย ไม่มีรูปแบบแน่นอนเป็นไปตามความนิยมของผู้เล่น ปัญหา คือ เยาวชนที่เป็นผู้สืบทอดมีความสนใจน้อยลง
และผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญามีจำนวนน้อยลงเพราะบางส่วนเป็นบุคคลสูงวัยมีปัญหาสุขภาพการประกอบอาชีพ การถ่ายทอด
ไม่น่าสนใจ เครื่องดนตรีขาดการจัดการที่เหมาะสม ขาดการบริหารงานกลุ่มที่มาจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย อนาคตที่
ต้องการคือ ให้เยาวชนมีความรู้ เจตคติและทักษะการละเล่นกลองยาว การถ่ายทอดที่มีประสิทธิภาพ มีการรวบรวมองค์ความรู้
เรื่องกลองยาวของชุมชน การบริหารจัดการเครื่องดนตรีที่เป็นระบบและมีการดำเนินงานจากการมีส่วนร่วมของ
ชุมชน
2. แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาวสู่เยาวชน
บ้านหนองซอ มี 7 แนวทาง คือ 1) การจัดโครงสร้างการดำเนินงาน 2) การส่งเสริมศักยภาพผู้ถ่ายทอดเพื่อการสอน
ที่มีคุณภาพ 3) การส่งเสริมเยาวชนเพื่อการเรียนรู้ศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาว 4) การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้
5) การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องดนตรีเพื่อการเรียนรู้ 6) การสร้างเครือข่ายการส่งเสริมศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาว
และ 7) การประเมินผลและรับผลประโยชน์
ข้อค้นพบจากการวิจัย คือ แนวทางส่งเสริมศิลปะการแสดงพื้นบ้านกลองยาวบ้านหนองซอนั้นมี
ทุกฝ่ายร่วมดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สร้างองค์ความรู้กลองยาวที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ถ่ายทอดโดยยึด
เยาวชนเป็นศูนย์กลาง เสริมความเข้มแข็งด้านเครือข่ายในและนอกชุมชน
บริจาค
There are no comments on this title.