Image from Google Jackets

แนวทางการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 : วิทยานิพนธ์ = Guidelines for Multicuturl Education Management of Thai Border Educational Institutions under Prachup Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 1. / วรารัตน์ กล่อมเสียง

By: Material type: TextTextPublication details: เพชรบุรี : สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565Description: 123 หน้า : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title:
  • Guidelines for Multicuturl Education Management of Thai Border Educational Institutions under Prachup Khiri Khan Primary Educational Service Area Office 1
Subject(s): DDC classification:
  • วพ 370.117 ว322น 2565
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์(ค.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565 Summary: สถานศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก ซึ่งสถานศึกษาต้องมีความพร้อมในการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม ผู้วิจัยจึงได้ทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย และ 2) กำหนดแนวทางจัดการศึกษา แบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม ผู้ให้ข้อมูล หลักสำหรับการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน (2) ครู จำนวน 3 คน และ (4) ผู้ปกครอง จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ 2) ขั้นกำหนดแนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย ผู้ให้ข้อมูลหลักในสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน ประกอบด้วย (1) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 คน (2) ผู้บริหารสถานศึกษา จกนวน 3 คน (3) ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน (4) ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน และ (5) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า 1) สถานศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทยมีการให้โอกาสทางการ ศึกษาแก่นักเรียนชาวไทย พม่า กะเหรี่ยง มอญ ลาว และไทยพลัดถิ่น ให้มีความเสมอภาคในการเรียนรู้ ได้รู้และ เข้าใจถึงความแตกต่างของสมาชิกในชุมชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2) สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน ภาษาพม่าโดยใช้ครูชาวเมียนมาร์ 3) สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อสร้างการ ยอมรับในความแตกต่างของวัฒนธรรม และ 4) นักเรียนมีความรัก ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 2. แนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า มี 3 แนวทาง คือ 1) สถานศึกษาควรมีการสร้างสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อ เสริมสร้างกิจกรรมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการจ้างครูชาวเมียนมาร์มาสอนภาษาพม่า อย่างต่อเนื่อง และ 3) ควรมีการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรแบบพหุวัฒนธรรมให้หลากหลายมากขึ้น ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมจะประสบความสำเร็จได้ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีภาวะผู้นำและมีความร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรมแบบพหุวัฒนธรรม
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 370.117 ว322น 2565 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000218040
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 370.117 ว322น 2565 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000218041

วิทยานิพนธ์(ค.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565

สถานศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทยในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมาก
ซึ่งสถานศึกษาต้องมีความพร้อมในการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม ผู้วิจัยจึงได้ทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย และ 2) กำหนดแนวทางจัดการศึกษา
แบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นศึกษาสภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรม ผู้ให้ข้อมูล
หลักสำหรับการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน (2) ครู จำนวน 3 คน และ (4) ผู้ปกครอง
จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ
2) ขั้นกำหนดแนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย ผู้ให้ข้อมูลหลักในสนทนากลุ่ม จำนวน
10 คน ประกอบด้วย (1) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 คน (2) ผู้บริหารสถานศึกษา จกนวน 3 คน
(3) ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 คน (4) ผู้นำชุมชน จำนวน 1 คน และ (5) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวัฒนธรรม จำนวน 4 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ประเด็นการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. สภาพการจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดนไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า 1) สถานศึกษาในพื้นที่ชายแดนไทยมีการให้โอกาสทางการ
ศึกษาแก่นักเรียนชาวไทย พม่า กะเหรี่ยง มอญ ลาว และไทยพลัดถิ่น ให้มีความเสมอภาคในการเรียนรู้ ได้รู้และ
เข้าใจถึงความแตกต่างของสมาชิกในชุมชนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม 2) สถานศึกษาจัดการเรียนการสอน
ภาษาพม่าโดยใช้ครูชาวเมียนมาร์ 3) สถานศึกษาจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เพื่อสร้างการ
ยอมรับในความแตกต่างของวัฒนธรรม และ 4) นักเรียนมีความรัก ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
2. แนวทางจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมของสถานศึกษาชายแดน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า มี 3 แนวทาง คือ 1) สถานศึกษาควรมีการสร้างสัมพันธ์กับชุมชนเพื่อ
เสริมสร้างกิจกรรมทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ควรให้การสนับสนุนงบประมาณในการจ้างครูชาวเมียนมาร์มาสอนภาษาพม่า
อย่างต่อเนื่อง และ 3) ควรมีการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรแบบพหุวัฒนธรรมให้หลากหลายมากขึ้น
ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการศึกษาแบบพหุวัฒนธรรมจะประสบความสำเร็จได้
ผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีภาวะผู้นำและมีความร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรมแบบพหุวัฒนธรรม

บริจาค

There are no comments on this title.

to post a comment.


Office of Academic Resources and Information Technology
      38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th