Image from Google Jackets

การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 : วิทยานิพนธ์ = Development of Thai Language Reading and Writing Abilities with Word Spelling by Phonics Learning Management for Prathomsuksa 1 Students. / ชนินทร์ ทิมฤกษ์

By: Material type: TextTextPublication details: เพชรบุรี : สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2566Description: 217 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดีรอมOther title:
  • Development of Thai Language Reading and Writing Abilities with Word Spelling by Phonics Learning Management for Prathomsuksa 1 Students
Subject(s): Genre/Form: DDC classification:
  • วพ 372.62 ช154ก 2566
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์(ค.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2566 Summary: ภาษาไทยเป็นพื้นฐานที่สำคัญโดยเฉพาะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งใน หลายๆ ทักษะ อันเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาการอ่านและเขียนของนักเรียน ผู้วิจัยจึงสนใจ ทำวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียน บางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์) สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ 2) แบบทดสอบวัด ความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.28–0.78 ค่าอำนาจ จำแนกระหว่าง 0.22–0.67 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 ค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.23–0.73 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.22–0.67 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน ของนักเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมี คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน 2. ความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมี คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน 3. พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนสามารถจดจำตัวอักษรพยัญชนะไทยการประสมเสียงคำ การเทียบเคียงคำ และการอ่านเขียนสะกดคำ ภาษาไทยได้ถูกต้อง 4. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหา น้อย ดังนี้ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ ข้อค้นพบจากการวิจัยคือ การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสามารถบูรณาการทักษะการอ่านและการเขียน สะกดคำภาษาไทยด้วยกันได้เป็นอย่างดี ถ้ามีกลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม การนำกลวิธี การเรียนรู้ภาษามา ใช้ โดยมีรูปภาพประกอบจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนสนุกสนาน เพลิดเพลิน สามารถเรียบเรียง วิธีคิดได้ดีขึ้น ช่วยให้อ่านและเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 372.62 ช154ก 2566 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000218054
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 372.62 ช154ก 2566 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000218055

วิทยานิพนธ์(ค.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2566

ภาษาไทยเป็นพื้นฐานที่สำคัญโดยเฉพาะการอ่านและการเขียนสะกดคำภาษาไทยซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งใน
หลายๆ ทักษะ อันเป็นพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาการอ่านและเขียนของนักเรียน ผู้วิจัยจึงสนใจ
ทำวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์3) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียน
บางแค (เนื่องสังวาลย์อนุสรณ์) สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน
ที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ 2) แบบทดสอบวัด
ความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 ค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.28–0.78 ค่าอำนาจ
จำแนกระหว่าง 0.22–0.67 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ
0.84 ค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.23–0.73 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.22–0.67 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน
ของนักเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ สถิติที่ใช้ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความสามารถในการอ่านสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ก่อนและหลัง
การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมี
คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน
2. ความสามารถในการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ก่อนและหลัง
การจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยหลังการจัดการเรียนรู้นักเรียนมี
คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน
3. พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ โดยภาพรวม
พบว่า นักเรียนสามารถจดจำตัวอักษรพยัญชนะไทยการประสมเสียงคำ การเทียบเคียงคำ และการอ่านเขียนสะกดคำ
ภาษาไทยได้ถูกต้อง
4. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโฟนิกส์ โดยภาพรวม
พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหา
น้อย ดังนี้ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านบรรยากาศการเรียนรู้ ตามลำดับ
ข้อค้นพบจากการวิจัยคือ การจัดการเรียนการสอนภาษาไทยสามารถบูรณาการทักษะการอ่านและการเขียน
สะกดคำภาษาไทยด้วยกันได้เป็นอย่างดี ถ้ามีกลวิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสม การนำกลวิธี การเรียนรู้ภาษามา
ใช้ โดยมีรูปภาพประกอบจะช่วยกระตุ้นความสนใจของนักเรียน ทำให้นักเรียนสนุกสนาน เพลิดเพลิน สามารถเรียบเรียง
วิธีคิดได้ดีขึ้น ช่วยให้อ่านและเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง

บริจาค

There are no comments on this title.

to post a comment.


Office of Academic Resources and Information Technology
      38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th