Image from Google Jackets

ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : ดุษฎีนิพนธ์ = Development strategy on preventive treatment of household wastewater in municipalities according to sufficiency economy concept / พลภัทร โตส้ม

By: Material type: TextTextPublication details: เพชรบุรี : สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555Description: (12), 260 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title:
  • Development strategy on preventive treatment of household wastewater in municipalities according to sufficiency economy concept
Subject(s): DDC classification:
  • วพ 628.1682 พ441ย
Online resources: Dissertation note: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555 Summary: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ ความ ตระหนัก และการปฏิบัติเชิงป้องกันการเกิดน้ำเสียของครัวเรือนจากการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ที่มีต่อคุณภาพน้ำเสียครัวเรือน โดยการวิจัยเชิงทดลอง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุทัยธานี เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม แบบสอบถาม การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียและบันทึกการปฏิบัติ ของครัวเรือน วิเคราะห์เนื้อหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ วิลคอคซอนแรงค์ ซัมดับเบิ้ลยูเทส และแมนน์วิทนีย์ยู เทส ผลการวิจัยพบว่า 1. ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” คือนวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างขึ้นจากการหลอมรวมทฤษฎี การป้องกันไว้ก่อนการบำบัดน้ำเสียเทคโนโลยีอีเอ็ม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและข้อมูลสภาพจริงประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาน้ำเสีย การปฏิบัติเชิงป้องกันน้ำเสียทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ โดยมีกิจกรรมสำคัญคือการป้องกันสารเคมี และสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียและการใช้ ตัวกลางและอีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมัน โดยทำเป็นคู่มือในการวิจัยเชิงทดลอง 2. ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องปัญหาน้ำเสีย สาเหตุ และแนวทางแก้ไขสูงกว่ากลุ่มควบคุม การปฏิบัติเชิงป้องกันทางเคมี กายภาพ และชีวภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีการควบคุมสารเคมีและสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียการใช้ตัวกลางและเทคโนโลยี อีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมันสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3. คุณภาพน้ำเสียจากครัวเรือนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ”และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีคุณภาพน้ำเสียดีกว่ากลุ่มควบคุมในทุกด้านได้แก่ ค่าบีโอดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณสารแขวนลอย ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดค่าซัลไฟด์ ค่าทีเคเอ็น ปริมาณน้ำมันและไขมัน และมีประสิทธิภาพในการลดค่าบีโอดี ลงได้ร้อยละ 86.84 ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” เป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเทศบาลเมืองอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันและใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติบำบัดเช่นระบบบ่อผึ่งได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้บุคลากรที่ เกี่ยวข้องควรได้ศึกษายุทธศาสตร์นี้ให้เข้าใจก่อนนำไปปฏิบัติ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 628.1682 พ441ย (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000170488
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 628.1682 พ441ย (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000170487

ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงความรู้ความเข้าใจ ความ
ตระหนัก และการปฏิบัติเชิงป้องกันการเกิดน้ำเสียของครัวเรือนจากการทดลองใช้ยุทธศาสตร์ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ที่มีต่อคุณภาพน้ำเสียครัวเรือน โดยการวิจัยเชิงทดลอง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดอุทัยธานี เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต สัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม แบบสอบถาม การตรวจวิเคราะห์น้ำเสียและบันทึกการปฏิบัติ ของครัวเรือน วิเคราะห์เนื้อหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ วิลคอคซอนแรงค์ ซัมดับเบิ้ลยูเทส และแมนน์วิทนีย์ยู เทส
ผลการวิจัยพบว่า
1. ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” คือนวัตกรรมในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างขึ้นจากการหลอมรวมทฤษฎี การป้องกันไว้ก่อนการบำบัดน้ำเสียเทคโนโลยีอีเอ็ม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและข้อมูลสภาพจริงประกอบด้วย การสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักต่อปัญหาน้ำเสีย การปฏิบัติเชิงป้องกันน้ำเสียทางเคมี กายภาพ และชีวภาพ โดยมีกิจกรรมสำคัญคือการป้องกันสารเคมี และสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียและการใช้ ตัวกลางและอีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมัน โดยทำเป็นคู่มือในการวิจัยเชิงทดลอง
2. ความรู้ความเข้าใจและความตระหนักระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในเรื่องปัญหาน้ำเสีย สาเหตุ
และแนวทางแก้ไขสูงกว่ากลุ่มควบคุม การปฏิบัติเชิงป้องกันทางเคมี กายภาพ และชีวภาพระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีการควบคุมสารเคมีและสารอันตราย ขยะและไขมันไม่ให้เจือปนลงในน้ำเสียการใช้ตัวกลางและเทคโนโลยี อีเอ็มบำบัดน้ำเสียในถังดักไขมันสูงกว่ากลุ่มควบคุม
3. คุณภาพน้ำเสียจากครัวเรือนระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ”และกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยกลุ่มทดลองมีคุณภาพน้ำเสียดีกว่ากลุ่มควบคุมในทุกด้านได้แก่ ค่าบีโอดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง ปริมาณสารแขวนลอย ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดค่าซัลไฟด์ ค่าทีเคเอ็น ปริมาณน้ำมันและไขมัน และมีประสิทธิภาพในการลดค่าบีโอดี ลงได้ร้อยละ 86.84 ยุทธศาสตร์ “บ้านรักษ์น้ำ” เป็นนวัตกรรมที่นำไปใช้ในการบำบัดน้ำเสียเชิงป้องกันของครัวเรือนในเทศบาลเมืองอื่นที่มีบริบทใกล้เคียงกันและใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบธรรมชาติบำบัดเช่นระบบบ่อผึ่งได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้บุคลากรที่ เกี่ยวข้องควรได้ศึกษายุทธศาสตร์นี้ให้เข้าใจก่อนนำไปปฏิบัติ

There are no comments on this title.

to post a comment.


Office of Academic Resources and Information Technology
      38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th