การวิเคราะห์วัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทอ่านภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชุมพร : วิทยานิพนธ์ = An analysisnof culture embedded in reading texts of english Coursebooks used in lower secondary level in chumphon educational administration area / ชนิดาภา ไตรสัตยา

By: Material type: TextTextPublication details: เพชรบุรี : สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555Description: (9), 161 แผ่น : ; 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title:
  • An analysisnof culture embedded in reading texts of english Coursebooks used in lower secondary level in chumphon educational administration area
Subject(s): DDC classification:
  • วพ 428 ช152ก
Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555 Summary: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชุมพร 2) จัดลำดับความสำคัญของลักษณะวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและ 3) กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนความรู้ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในบทอ่านในแบบเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์หนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษที่นิยมใช้มากที่สุดในจังหวัดชุมพร จำนวน 2 ชุด รวม 6 เล่ม รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในกรอบของหัวข้อวัฒนธรรม จำนวน 5 กลุ่ม 45 หัวข้อ ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ประเภทของบทอ่านที่เป็นแบบบรรยายพรรณนามากที่สุด เนื้อหาในบทอ่านเกี่ยวกับวัฒนธรรมการอธิบายลักษณะบุคคลมากที่สุด และลักษณะวัฒนธรรมที่พบในบทอ่าน มีความแตกต่างมากกว่าความเหมือนกับวัฒนธรรมไทย 2. ลำดับความสำคัญของวัฒนธรรมที่แฝงในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งออกได้เป็น 6 หัวเรื่อง เรียงตามความสาคัญมากที่สุดลงไปได้แก่เรื่องเกี่ยวกับคนในด้านทัศนคติและคุณลักษณะ เรื่องสัตว์ได้แก่การบรรยายลักษณะของสัตว์ เรื่องสถานที่ได้แก่ที่อยู่ของคนเชื้อชาติต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลกและความมีชื่อเสียงของสถานที่ เรื่องพืชและต้นไม้ เป็นการบรรยาย ถิ่นกำเนิดของพืชและต้นไม้ เรื่องอาหารและสุขภาพเป็นเนื้อหาของอาหารและเครื่องดื่มในประเทศสหรัฐอเมริกา และเรื่องเทศกาลความบันเทิง ที่บรรยายถึงขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ตามลำดับ 3. แนวทางในการจัดการเรียนรู้สาหรับครูผู้สอน ประกอบด้วยการสอนอ่านตามประเภทของการเขียนโดยเฉพาะการบรรยาย การสอนความหมายของการอ่านแบบวัฒนธรรมเปรียบเทียบ และการสอนอ่านที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียนด้านคน ชีวิตประจำวัน และปัจจัยด้านอาหาร สถานที่อยู่อาศัยและสุขภาพตามลำดับ ผลจากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้ครูผู้สอนการอ่านภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา ให้ความสำคัญในเรื่องวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 428 ช152ก (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000173451
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 428 ช152ก (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000173450

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2555

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชุมพร 2) จัดลำดับความสำคัญของลักษณะวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและ 3) กำหนดแนวทางในการจัดการเรียนการสอนความรู้ทางวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในบทอ่านในแบบเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์หนังสือแบบเรียนภาษาอังกฤษที่นิยมใช้มากที่สุดในจังหวัดชุมพร จำนวน 2 ชุด รวม 6 เล่ม รวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในกรอบของหัวข้อวัฒนธรรม จำนวน 5 กลุ่ม 45 หัวข้อ ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1. วัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ประเภทของบทอ่านที่เป็นแบบบรรยายพรรณนามากที่สุด เนื้อหาในบทอ่านเกี่ยวกับวัฒนธรรมการอธิบายลักษณะบุคคลมากที่สุด และลักษณะวัฒนธรรมที่พบในบทอ่าน มีความแตกต่างมากกว่าความเหมือนกับวัฒนธรรมไทย
2. ลำดับความสำคัญของวัฒนธรรมที่แฝงในบทอ่านในแบบเรียนภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น แบ่งออกได้เป็น 6 หัวเรื่อง เรียงตามความสาคัญมากที่สุดลงไปได้แก่เรื่องเกี่ยวกับคนในด้านทัศนคติและคุณลักษณะ เรื่องสัตว์ได้แก่การบรรยายลักษณะของสัตว์ เรื่องสถานที่ได้แก่ที่อยู่ของคนเชื้อชาติต่างๆ สถานที่ท่องเที่ยวทั่วโลกและความมีชื่อเสียงของสถานที่ เรื่องพืชและต้นไม้ เป็นการบรรยาย ถิ่นกำเนิดของพืชและต้นไม้ เรื่องอาหารและสุขภาพเป็นเนื้อหาของอาหารและเครื่องดื่มในประเทศสหรัฐอเมริกา และเรื่องเทศกาลความบันเทิง ที่บรรยายถึงขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ตามลำดับ
3. แนวทางในการจัดการเรียนรู้สาหรับครูผู้สอน ประกอบด้วยการสอนอ่านตามประเภทของการเขียนโดยเฉพาะการบรรยาย การสอนความหมายของการอ่านแบบวัฒนธรรมเปรียบเทียบ และการสอนอ่านที่สัมพันธ์กับประสบการณ์ใกล้ตัวผู้เรียนด้านคน ชีวิตประจำวัน และปัจจัยด้านอาหาร สถานที่อยู่อาศัยและสุขภาพตามลำดับ
ผลจากการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้ครูผู้สอนการอ่านภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษา ให้ความสำคัญในเรื่องวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาและความแตกต่างของวัฒนธรรมไทย เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

There are no comments on this title.

to post a comment.
Office of Academic Resources and Information Technology

      38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand

    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th