กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย : วิทยานิพนธ์ = Strategies for creating a competitive advantage in the elderly care business in Thailand. / ศุภศิริ โปศิริ
Material type:
- Strategies for creating a competitive advantage in the elderly care business in Thailand
- วพ 658.85 ศ662ก 2565
Item type | Current library | Collection | Call number | Copy number | Status | Date due | Barcode | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 | 658.85 ศ662ก 2565 (Browse shelf(Opens below)) | 1 | Available | 1000209943 | ||
![]() |
PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 | วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 | 658.85 ศ662ก 2565 (Browse shelf(Opens below)) | 2 | Available | 1000209944 |
วิทยานิพนธ์(บธ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565
การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญของการดำเนินธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค และการดำเนินงานของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ
2) วิเคราะห์องค์ประกอบของกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยและ 3) ประเมินองค์ประกอบของกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ คณะกรรมการสมาคมส่งเสริมธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ นักวิชาการ และผู้ประกอบการธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน ด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างส่วนที่ 1 คือ ผู้บริหารธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน และกลุ่มตัวอย่างส่วนที่ 2 คือ ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินความเหมาะสม ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุส่วนใหญ่จัดตั้งในรูปแบบบุคคลธรรมดา ให้บริการแบบรายเดือนผู้ประกอบการไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุโดยตรง ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและมีอัตราการเข้าออกงานสูง อัตราค่าตอบแทนบุคลากรอยู่ในระดับสูง และไม่มีข้อกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน
2. องค์ประกอบของกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ในประเทศไทยได้องค์ประกอบทั้งหมด 10 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ความได้เปรียบทางด้านต้นทุน
2) กลยุทธ์ด้านคุณภาพการให้บริการ 3) กลยุทธ์ด้านการตลาด 4) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายและพันธมิตรทางธุรกิจ 5) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง 6) กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด 7) กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์
8) กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ 9) กลยุทธ์ด้านนวัตกรรม และ 10) กลยุทธ์ด้านสถานที่ โดยมีค่าดัชนี
ความสอดคล้องดังนี้ CMIN/DF=1.632, GFI=0.992, CFI=0.991, NFI=0.984, RMR=0.020 และ RMSEA=0.026
3. ความเหมาะสมขององค์ประกอบกลยุทธ์ของการสร้างความเปรียบได้ในการแข่งขันของธุรกิจดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยทั้ง 10 กลยุทธ์ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ข้อค้นพบจากการวิจัยคือผู้ประกอบการที่มีการนำกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันมาใช้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจได้จะสามารถทำให้การดำเนินธุรกิจสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและประสบความสำเร็จได้
บริจาค
There are no comments on this title.