Image from Google Jackets

รูปแบบการพัฒนาจิตของผู้สูงอายุตามวิถีพุทธในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = Model for mental development according to buddhist orientation of the elderly in Mueang district in Phetchaburi province. / เทพ ยูรประดับ

By: Material type: TextTextPublication details: เพชรบุรี : สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565Description: 220 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title:
  • Model for mental development according to buddhist orientation of the elderly in Mueang district in Phetchaburi province
Subject(s): Genre/Form: Call number: วพ 294.35 ท595ร 2565 Online resources: Dissertation note: วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565 Summary: จังหวัดเพชรบุรีมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ก้าวสู่สังคมสูงวัย ที่ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อจิตใจผู้สูงอายุจึงควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เท่าทันโลกและชีวิต ศาสนาพุทธมีคำสอนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาจิตให้พบความสงบสุขที่แท้จริงได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา เรื่องรูปแบบการพัฒนาจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ โดยการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุใน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปีจำนวน 392 คน ได้จากการสุ่ม แบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.0 และค่าความเชื่อมั่น 0.921 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาจิตตามวิถีพุทธของผู้สูงอายุ ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ การพัฒนาจิตตามแนววิถีพุทธของผู้สูงอายุ จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันในการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีโดย รวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย คือ ด้านศีลสิกขา ด้านสมาธิสิกขา และด้าน ปัญญาสิกขา 2. รูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุที่สร้างขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาจิต 2) การให้ความรู้ด้านพุทธธรรม 3) การฝึก ปฏิบัติตนด้วยสติ-สมาธิ 4) การบริหารกายและจิตด้วยสมาธิบำบัด และ 5) การวางแผนพัฒนาจิตในชีวิตประจำวัน และการประเมินผล จากรูปแบบนี้จัดทำเป็นคู่มือการฝึกอบรม จำนวน 1 ชุด 3. ผลประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43 ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ รูปแบบการพัฒนาจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ สามารถสร้าง เสริมเจตคติที่ดีในการพัฒนาจิต การเข้าใจในหลักธรรมพุทธศาสนา และเข้าถึงทักษะการปฏิบัติธรรมที่เป็น แก่นสารของศาสนา อันเป็นประโยชน์ที่แท้จริงต่อชีวิต ทำให้จิตสงบ มีสติ เกิดปัญญา และส่งเสริมการดำเนินชีวิต ทางกาย วาจา ใจที่ถูกต้อง ดีงาม อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 294.35 ท595ร 2565 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000218032
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library บรรณราชฯ ชั้น 5 วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 294.35 ท595ร 2565 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000218033

วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565

จังหวัดเพชรบุรีมีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ก้าวสู่สังคมสูงวัย ที่ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ
ส่งผลกระทบต่อจิตใจผู้สูงอายุจึงควรได้รับการพัฒนาให้มีความรู้เท่าทันโลกและชีวิต
ศาสนาพุทธมีคำสอนที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาจิตให้พบความสงบสุขที่แท้จริงได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา
เรื่องรูปแบบการพัฒนาจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) ศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
2) สร้างรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ 3) ประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ
โดยการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุใน
อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60-69 ปีจำนวน 392 คน ได้จากการสุ่ม
แบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.0
และค่าความเชื่อมั่น 0.921 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่
2 การสร้างรูปแบบการพัฒนาจิตตามวิถีพุทธของผู้สูงอายุ ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ
การพัฒนาจิตตามแนววิถีพุทธของผู้สูงอายุ จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม
มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.67-1.0 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันในการดำเนินชีวิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรีโดย
รวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับรายด้านจากมากไปหาน้อย คือ ด้านศีลสิกขา ด้านสมาธิสิกขา และด้าน
ปัญญาสิกขา
2. รูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุที่สร้างขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างแรงจูงใจในการพัฒนาจิต 2) การให้ความรู้ด้านพุทธธรรม 3) การฝึก
ปฏิบัติตนด้วยสติ-สมาธิ 4) การบริหารกายและจิตด้วยสมาธิบำบัด และ 5) การวางแผนพัฒนาจิตในชีวิตประจำวัน
และการประเมินผล จากรูปแบบนี้จัดทำเป็นคู่มือการฝึกอบรม จำนวน 1 ชุด
3. ผลประเมินรูปแบบการพัฒนาจิตตามหลักวิถีพุทธของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.43
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ รูปแบบการพัฒนาจิตของผู้สูงอายุตามหลักวิถีพุทธ สามารถสร้าง
เสริมเจตคติที่ดีในการพัฒนาจิต การเข้าใจในหลักธรรมพุทธศาสนา และเข้าถึงทักษะการปฏิบัติธรรมที่เป็น
แก่นสารของศาสนา อันเป็นประโยชน์ที่แท้จริงต่อชีวิต ทำให้จิตสงบ มีสติ เกิดปัญญา และส่งเสริมการดำเนินชีวิต
ทางกาย วาจา ใจที่ถูกต้อง ดีงาม อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

บริจาค

There are no comments on this title.

to post a comment.


Office of Academic Resources and Information Technology
      38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th