การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชน ของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = Virtue and morality development according to six-direction dhamma through process of dhamma delivery into community of Wat Thong Noppakun in Meaung district in Phetchaburi province. / วัชรพงษ์ นาคะสิทธิ์

By: วัชรพงษ์ นาคะสิทธิ์Call number: วพ 294.3013 ว378ก 2565 Material type: BookBookPublisher: เพชรบุรี: สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2565Description: 145 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title: Virtue and morality development according to six-direction dhamma through process of dhamma delivery into community of Wat Thong Noppakun in Meaung district in Phetchaburi provinceSubject(s): มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา -- วิทยานิพนธ์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี -- วิทยานิพนธ์ -- 2565 | วัดทองนพคุณ -- วิทยานิพนธ์ | ธรรมะ -- วิทยานิพนธ์ | การพัฒนาจริยธรรม -- วิทยานิพนธ์ | ชุมชน -- ธรรมะ -- วิทยานิพนธ์Genre/Form: หลักทิศ 6 | กระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชขDDC classification: วพ 294.3013 ว378ก 2565 Online resources: cover | abstract | acknowledgement | content | chapter1 | chapter2 | chapter3 | chapter4 | chapter5 | bibliography | appendix Dissertation note: วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2562 Summary: คุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดการยอมรับ ประพฤติตนตามเกณฑ์ที่ถูกต้อง จะนำมาสู่ความเจริญก้าวหน้าของสังคม ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัยเรื่องนี้ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ 2) ประเมินคุณธรรมจริยธรรมตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักทิศ 6โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ จำนวน 30 ครัวเรือน ๆ ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 90 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 10 ครัวเรือน ๆ ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ เป็นกระบวนการสร้างครอบครัวและชุมชนคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้เรื่องหลักทิศ 6 แก่ชุมชน โดยการเทศน์ตามกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนแต่ละหมู่บ้านก่อนการเข้าพรรษา ขั้นที่ 2 การบ่มเพาะพฤติกรรมตามหลักธรรมทิศ 6 โดยผ่านกระบวนการสะท้อนคิดและการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม ตามแบบการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ ซึ่งมีการติดตามการปฏิบัติตามหลักธรรมทิศ 6 ทุกวันธรรมสวนะตลอดพรรษา ขั้นที่ 3 ประเมินพฤติกรรมของบุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันในแต่ละทิศ 2. ผลการประเมินคุณธรรมจริยธรรมตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชน พบว่า ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ทิศที่ 2 ทักขิณทิศ ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ทิศที่ 5 อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ทิศที่ 4 อุตตรทิศ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย ทิศที่ 6 เหฏฐิมทิศ ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้าง ทิศที่ 1 ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้าได้แก่ บิดามารดา และทิศที่ 3 ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา 3. แนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนพบว่า บิดามารดาควรอบรมสั่งสอนบุตรธิดาให้เป็นคนดี รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ ครูอาจารย์ควรฝึกฝนอบรมวิชาความรู้ให้ศิษย์เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สามีภรรยาควรช่วยเหลือเกื้อกูลยกย่องให้เกียรติกันและกัน มิตรสหายควรเชื่อใจและจริงใจต่อกัน คนรับใช้/คนงานควรขยันหมั่นเพียรและเอาใจใส่ในงาน และพระสงฆ์ควรเป็นแบบอย่างและเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่สังคม ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า การบ่มเพาะพฤติกรรมตามหลักธรรมทิศ 6 โดยผ่านกระบวนการสะท้อนคิด และการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม ตามแบบการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ สามารถพัฒนาด้านการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานในชุมชนให้ดีขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library
บรรณราชฯ ชั้น 5
วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 วพ 294.3013 ว378ก 2565 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000209848
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library
บรรณราชฯ ชั้น 5
วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 วพ 294.3013 ว378ก 2565 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000209849
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
วพ 294.3013 พ322ก 2563 การสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยการบริหารเครือข่ายทุนในพื้นที่ ด้วยหลักศาสนธรรม ของวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | The buddhism inheritance of Wat Thong Noppakhun in Phetchaburi province by using local capital network management with religious principle / วพ 294.3013 พ343ก 2564 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนด้วยกระบวนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักเรียนโรงเรียนวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | Development for student’s morality and ethics with essay writing process of theme on dhamma subject of students at Wat Thong Noppakhun school, Phetchaburi province. / วพ 294.3013 พ343ก 2564 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนด้วยกระบวนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม นักเรียนโรงเรียนวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | Development for student’s morality and ethics with essay writing process of theme on dhamma subject of students at Wat Thong Noppakhun school, Phetchaburi province. / วพ 294.3013 ว378ก 2565 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชน ของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | Virtue and morality development according to six-direction dhamma through process of dhamma delivery into community of Wat Thong Noppakun in Meaung district in Phetchaburi province. / วพ 294.3013 ว378ก 2565 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชน ของวัดทองนพคุณ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | Virtue and morality development according to six-direction dhamma through process of dhamma delivery into community of Wat Thong Noppakun in Meaung district in Phetchaburi province. / วพ 294.307 พ343ร 2563 รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ของชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมของวัด เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาของวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | Communication model for building perception of community in participating in temple's activities for inheriting buddhism at Wat Thong Noppakhun in Phetchaburi province / วพ 294.307 พ343ร 2563 รูปแบบการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ของชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมของวัด เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาของวัดทองนพคุณ จังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | Communication model for building perception of community in participating in temple's activities for inheriting buddhism at Wat Thong Noppakhun in Phetchaburi province /

วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2562

คุณธรรม จริยธรรม มีความสำคัญต่อการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดการยอมรับ ประพฤติตนตามเกณฑ์ที่ถูกต้อง จะนำมาสู่ความเจริญก้าวหน้าของสังคม ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจทำวิจัยเรื่องนี้ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ 2) ประเมินคุณธรรมจริยธรรมตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักทิศ 6โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ อำเภอเมืองจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างสำหรับวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ จำนวน 30 ครัวเรือน ๆ ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น
90 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณโดยการสนทนากลุ่ม จำนวน 10 ครัวเรือน ๆ ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนของวัดทองนพคุณ เป็นกระบวนการสร้างครอบครัวและชุมชนคุณธรรม จริยธรรม ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้เรื่องหลักทิศ 6 แก่ชุมชน โดยการเทศน์ตามกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนแต่ละหมู่บ้านก่อนการเข้าพรรษา ขั้นที่ 2 การบ่มเพาะพฤติกรรมตามหลักธรรมทิศ 6 โดยผ่านกระบวนการสะท้อนคิดและการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม ตามแบบการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ ซึ่งมีการติดตามการปฏิบัติตามหลักธรรมทิศ 6 ทุกวันธรรมสวนะตลอดพรรษา ขั้นที่ 3 ประเมินพฤติกรรมของบุคคลที่พึงปฏิบัติต่อกันในแต่ละทิศ
2. ผลการประเมินคุณธรรมจริยธรรมตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชน พบว่า ประชาชนมีคุณธรรมจริยธรรมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับดังนี้ ทิศที่ 2 ทักขิณทิศ ทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ทิศที่ 5 อุปริมทิศ ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ทิศที่ 4 อุตตรทิศ ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย ทิศที่ 6 เหฏฐิมทิศ ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้าง ทิศที่ 1 ปุรัตถิมทิศ ทิศเบื้องหน้าได้แก่ บิดามารดา และทิศที่ 3 ปัจฉิมทิศ ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
3. แนวทางการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามหลักทิศ 6 โดยกระบวนการส่งธรรมะสู่ชุมชนพบว่า บิดามารดาควรอบรมสั่งสอนบุตรธิดาให้เป็นคนดี รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ ครูอาจารย์ควรฝึกฝนอบรมวิชาความรู้ให้ศิษย์เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สามีภรรยาควรช่วยเหลือเกื้อกูลยกย่องให้เกียรติกันและกัน มิตรสหายควรเชื่อใจและจริงใจต่อกัน คนรับใช้/คนงานควรขยันหมั่นเพียรและเอาใจใส่ในงาน และพระสงฆ์ควรเป็นแบบอย่างและเสริมสร้างคุณธรรมให้แก่สังคม
ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า การบ่มเพาะพฤติกรรมตามหลักธรรมทิศ 6 โดยผ่านกระบวนการสะท้อนคิด และการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม ตามแบบการให้คำปรึกษาเชิงพุทธ สามารถพัฒนาด้านการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานในชุมชนให้ดีขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

บริจาค

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Office of Academic Resources and Information Technology
    38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th