รูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2561 (ฉบับใหม่) ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = A form of administration of sangha affairs under sangha act B.E. 2561 (new version) suitable for Phetchaburi provincial geo-society. / สนอง ธัญญานนท์

By: สนอง ธัญญานนท์Call number: วพ 294.366 ส194ร 2564 Material type: BookBookPublisher: เพชรบุรี : สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, 2564Description: 190 แผ่น : 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title: A form of administration of sangha affairs under sangha act B.E. 2561 (new version) suitable for Phetchaburi provincial geo-societySubject(s): มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สาขาวิชารัฐประสาสนศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ | สงฆ์ -- การบริหารGenre/Form: รูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์DDC classification: วพ 294.366 ส194ร 2564 Online resources: cover | abstract | acknowledgement | content | chapter1 | chapter2 | chapter3 | chapter4 | chapter5 | bibliography | appendix Dissertation note: วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2564 Summary: การบริหารกิจการคณะสงฆ์มีภารกิจเฉพาะที่กำหนดตามระบบการปกครองตามลำดับชั้น เพื่อขับเคลื่อนศาสนกิจและองค์กรคณะสงฆ์ทุกระดับซึ่งมีพัฒนาการเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำวิจัยเรื่องนี้ในภาวะปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2561 (ฉบับใหม่) ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่เหมาะสม กับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี และ 3) สังเคราะห์หารูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรีโดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามจากรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 คนที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลที่เลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 16 คน และนำข้อมูลที่ได้ มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการจำแนก จัดหมวดหมู่ และสรุปประเด็นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรีในปัจจุบันดำเนินการตามภารกิจ 6 ด้านที่มีการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ ได้แก่ การปกครอง การเผยแผ่ การศึกษา การสาธารณูปการ การศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณสงเคราะห์รวมทั้งการสร้างพุทธมณฑลเพชรบุรี ให้เป็นรูปธรรม ภายใต้ความรับผิดชอบบังคับบัญชาของเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาส ตามลำดับ 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคณะสงฆ์ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ การดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติตามระบบที่ชัดเจนที่สุด การสร้างทรัพยากรบุคคลด้านทัศนคติด้านการแสดงออก และด้านการปฏิบัติตนต่อสังคมแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม การใช้อำนาจการตัดสินใจร่วมกัน และความรับผิดชอบการพัฒนาพื้นที่และสังคม ตามลำดับ 3. รูปแบบการบริหารคณะสงฆ์ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ การมุ่งเน้นแสดงบทบาทเชิงรุกต่อสังคม เปลี่ยนบทบาทจากผู้รับเป็นผู้ให้ พระสงฆ์ควรรู้กฎหมายและเชี่ยวชาญพระธรรมวินัย สร้างโจทย์การทำงานเชิงรุกที่เน้นความหลากหลายทางวัฒนธรรม พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทั้งสอน ตรวจสอบและประเมินผล มีความสามารถด้านการสำรวจการก่อสร้างและการซ่อมบำรุงส่งเสริมการศึกษาภายใต้การสำรวจต้องการ บูรณาการบทบาทพระสงฆ์ต่อสังคม และสร้างพุทธมณฑลด้วยความร่วมมือกันทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นแนวทางการพัฒนาการบริหารคณะสงฆ์ที่เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันที่มุ่งเน้นระบบการบริหารตามหลักธรรมภิบาลแต่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย แสดงบทบาทเชิงรุก ทั้งนี้ควรมีการวิจัยด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารคณะสงฆ์ภายใต้การไม่มีบทลงโทษขั้นร้ายแรง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library
บรรณราชฯ ชั้น 5
วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 294.366 ส194ร 2564 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000209856
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library
บรรณราชฯ ชั้น 5
วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 294.366 ส194ร 2564 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000209857
Browsing PBRU Library shelves, Shelving location: บรรณราชฯ ชั้น 5, Collection: วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 Close shelf browser (Hides shelf browser)
วพ 294.35 พ322ศ 2558 ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา สำนักปฏิบัติธรรมวัดอัมพวันปิยาราม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ; วิทยานิพนธ์ = วพ 294.366 พ346ก 2558 การบริหารกิจการคณะสงฆ์โดยหลักทศพิธราชธรรมในจังหวัดชุมพร : วิทยานิพนธ์ = | The administration of the organization of the buddhist monastic order in chumphon province by using the tenfold virtue of the king / วพ 294.366 พ346ก 2558 การบริหารกิจการคณะสงฆ์โดยหลักทศพิธราชธรรมในจังหวัดชุมพร : วิทยานิพนธ์ = | The administration of the organization of the buddhist monastic order in chumphon province by using the tenfold virtue of the king / วพ 294.366 ส194ร 2564 รูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2561 (ฉบับใหม่) ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | A form of administration of sangha affairs under sangha act B.E. 2561 (new version) suitable for Phetchaburi provincial geo-society. / วพ 294.366 ส194ร 2564 รูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2561 (ฉบับใหม่) ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = | A form of administration of sangha affairs under sangha act B.E. 2561 (new version) suitable for Phetchaburi provincial geo-society. / วพ 303.69 น392น แนวทางการบริหารจัดการความคัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสมุทรสาคร : วิทยานิพนธ์ = | Conflict management in sub-district administrative organizations in Samutsakhon province / วพ 303.69 น392น แนวทางการบริหารจัดการความคัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสมุทรสาคร : วิทยานิพนธ์ = | Conflict management in sub-district administrative organizations in Samutsakhon province /

วิทยานิพนธ์(ศศ.ม.)—มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2564

การบริหารกิจการคณะสงฆ์มีภารกิจเฉพาะที่กำหนดตามระบบการปกครองตามลำดับชั้น เพื่อขับเคลื่อนศาสนกิจและองค์กรคณะสงฆ์ทุกระดับซึ่งมีพัฒนาการเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะทำวิจัยเรื่องนี้ในภาวะปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช 2561 (ฉบับใหม่) ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่เหมาะสม
กับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี และ 3) สังเคราะห์หารูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรีโดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามจากรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 คนที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลที่เลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 16 คน และนำข้อมูลที่ได้
มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยการจำแนก จัดหมวดหมู่ และสรุปประเด็นตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดเพชรบุรีในปัจจุบันดำเนินการตามภารกิจ 6 ด้านที่มีการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ ได้แก่ การปกครอง การเผยแผ่ การศึกษา การสาธารณูปการ การศึกษาสงเคราะห์ และการสาธารณสงเคราะห์รวมทั้งการสร้างพุทธมณฑลเพชรบุรี ให้เป็นรูปธรรม ภายใต้ความรับผิดชอบบังคับบัญชาของเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และเจ้าอาวาส ตามลำดับ
2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารคณะสงฆ์ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ การดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติตามระบบที่ชัดเจนที่สุด การสร้างทรัพยากรบุคคลด้านทัศนคติด้านการแสดงออก และด้านการปฏิบัติตนต่อสังคมแบบมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม การใช้อำนาจการตัดสินใจร่วมกัน และความรับผิดชอบการพัฒนาพื้นที่และสังคม ตามลำดับ
3. รูปแบบการบริหารคณะสงฆ์ที่เหมาะสมกับภูมิสังคมจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ การมุ่งเน้นแสดงบทบาทเชิงรุกต่อสังคม เปลี่ยนบทบาทจากผู้รับเป็นผู้ให้ พระสงฆ์ควรรู้กฎหมายและเชี่ยวชาญพระธรรมวินัย สร้างโจทย์การทำงานเชิงรุกที่เน้นความหลากหลายทางวัฒนธรรม พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทั้งสอน ตรวจสอบและประเมินผล มีความสามารถด้านการสำรวจการก่อสร้างและการซ่อมบำรุงส่งเสริมการศึกษาภายใต้การสำรวจต้องการ บูรณาการบทบาทพระสงฆ์ต่อสังคม และสร้างพุทธมณฑลด้วยความร่วมมือกันทุกภาคส่วนทั้งภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
ข้อค้นพบจากการวิจัยแสดงให้เห็นแนวทางการพัฒนาการบริหารคณะสงฆ์ที่เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันที่มุ่งเน้นระบบการบริหารตามหลักธรรมภิบาลแต่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย แสดงบทบาทเชิงรุก ทั้งนี้ควรมีการวิจัยด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารคณะสงฆ์ภายใต้การไม่มีบทลงโทษขั้นร้ายแรง

บริจาค

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Office of Academic Resources and Information Technology
    38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th