การพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี : วิทยานิพนธ์ = Development of good governance model appropriate to organizational culture of sub-district administrative organizations in Phetchaburi province. / วิชยุตม์ พิมพ์ถนอม

By: วิชยุตม์ พิมพ์ถนอมCall number: วพ 352.14 ว537ก 2564 Material type: BookBookPublisher: เพชรบุรี : สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2564Description: 241 แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม. + ซีดีรอม 1 แผ่นOther title: Development of good governance model appropriate to organizational culture of sub-district administrative organizations in Phetchaburi provinceSubject(s): มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี -- วิทยานิพนธ์ -- 2564 | องค์การบริหารส่วนตำบล -- วิทยานิพนธ์ -- จังหวัดเพชรบุรี | วัฒนธรรมองค์การ -- วิทยานิพนธ์ | หลักธรรมาภิบาล -- วิทยานิพนธ์DDC classification: วพ 352.14 ว537ก 2564 Online resources: cover | abstract | acknowledgement | content | chapter1 | chapter2 | chapter3 | chapter4 | chapter5 | bibliography | appendix Dissertation note: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2564 Summary: กระแสแนวคิดหลักธรรมาภิบาลเป็นกลไกเสริมสร้างความเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นเครื่องมือการป้องกันการทุจริต จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี และ 3) เสนอการพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 337 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 15 ท่าน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำมาเขียนเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาความ (Descriptive) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการบริหารงานอยู่บนหลักของความชอบธรรมและโปร่งใส ด้านกรอบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านความคุ้มค่า คุ้มทุน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การและประชาชน ด้านการมีส่วนรำวมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการยอมรับการดำเนินงานของทุกภาคส่วนและการรับผิดชอบร่วมกัน และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนวัฒนธรรมองค์การภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้แบบป้องกัน-เชิงรับ แบบสร้างสรรค์ และแบบป้องกัน-เชิงรุก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.806) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. การพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีจากผลการสังเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ด้านเน้นการมีส่วนร่วมผ่านทุกภาคส่วน ด้านดำเนินการและบริหารงานภายใต้ระเบียบทางราชการ และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม ข้อค้นพบจากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ 1) ด้านร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ 2) ด้านการวิเคราะห์ความคุ้มค่า คุ้มทุน การใช้ทรัพยากร และ 3) ด้านความชอบธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
Holdings
Item type Current library Collection Call number Copy number Status Date due Barcode
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library
บรรณราชฯ ชั้น 5
วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 352.14 ว537ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) 1 Available 1000209808
Thesis/Research Thesis/Research PBRU Library
บรรณราชฯ ชั้น 5
วิทยานิพนธ์ มรภ.เพชรบุรี ชั้น 5 วพ 352.14 ว537ก 2564 (Browse shelf(Opens below)) 2 Available 1000209809

วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 2564

กระแสแนวคิดหลักธรรมาภิบาลเป็นกลไกเสริมสร้างความเป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนของสังคม ในการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นเครื่องมือการป้องกันการทุจริต จึงทำให้ผู้วิจัยสนใจทำวิจัยเรื่องนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี และ 3) เสนอการพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 337 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กับวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีจำนวน 15 ท่าน ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำมาเขียนเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาความ (Descriptive)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการบริหารงานอยู่บนหลักของความชอบธรรมและโปร่งใส ด้านกรอบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านความคุ้มค่า คุ้มทุน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การและประชาชน ด้านการมีส่วนรำวมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ด้านการยอมรับการดำเนินงานของทุกภาคส่วนและการรับผิดชอบร่วมกัน และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และพันธะความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนวัฒนธรรมองค์การภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้แบบป้องกัน-เชิงรับ แบบสร้างสรรค์ และแบบป้องกัน-เชิงรุก
2. ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง (r = 0.806) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. การพัฒนารูปแบบหลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรีจากผลการสังเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ด้านเน้นการมีส่วนร่วมผ่านทุกภาคส่วน ด้านดำเนินการและบริหารงานภายใต้ระเบียบทางราชการ และด้านการมีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ พันธะความรับผิดชอบต่อสังคม
ข้อค้นพบจากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า หลักธรรมาภิบาลที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ 1) ด้านร่วมวางแผน ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ 2) ด้านการวิเคราะห์ความคุ้มค่า คุ้มทุน การใช้ทรัพยากร และ 3) ด้านความชอบธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้

บริจาค

There are no comments on this title.

to post a comment.
    Office of Academic Resources and Information Technology
    38 Moo. 8, Nawung Sub-District, Muang Phetchaburi District, Phetchaburi 76000 Thailand
    Tel: (032) 708609 Fax: (032) 708656 Email: library_office@mail.pbru.ac.th